Header

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

28 สิงหาคม 2567

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty) "ให้ทุกย่างก้าว..มีแต่ความสุข"

     ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดรุนแรงเรื้อรังมานาน และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด แล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นสามารถเลือกทำได้ในหลากหลายช่วงอายุ แต่ละช่วงอายุมีการใช้เทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของโรค รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วยซึ่งหลังผ่าตัดผู้ป่วยเสมือนได้ข้อเข่าแบบใหม่ สามารถกลับมาก้าวเดินอย่างมั่นใจอีกครั้ง

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คืออะไร?

     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty: TKA/TKR) หรือเรียกสั้นๆ ว่า TKA/TKR คือ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสียหรือเสื่อมสภาพออกทั้งหมด แล้วแทนที่ด้วยผิวข้อเข่าเทียมที่ทำจากโลหะอัลลอยด์ครอบหรือคลุมกระดูกส่วนที่เฉือนออกไป โดยมีแผ่นโพลีเอทิลีนชนิดพิเศษกั้นระหว่างโลหะ

 

ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • ลดอาการปวด ความผิดรูป แก้ไขความพิการ หรือความโก่งของเข่า
  • ป้องกันการเสื่อมของข้ออื่นๆ ตามมา
  • แก้ไขอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ไม่ประสบความสำเร็จ
  • เพิ่มความมั่นคงให้กับข้อเข่า
  • มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะกลับมาเดินได้เมื่อไหร่?

     หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ำหนักขาข้างที่ผ่าตัดได้เต็มที่ภายใน 1-2 วัน และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 2 เดือนถึง 6 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน
 

อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม ยาวนานแค่ไหน?

     อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม ประมาณ 10 – 20 ปี
 

สิ่งที่ควรทำ และ ควรหลีกเลี่ยง หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     ผู้ป่วยสามารถเลือกการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือดและกล้ามเนื้อให้สูงขึ้นได้ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น
 

ในส่วนของกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     ได้แก่ กีฬาที่มีแรงกระแทก รุนแรงต่อข้อเข่า หรือมีการกระโดด เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน การวิ่ง เทนนิส เพราะแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกโพลีเอทิลีนในข้อเข่าเทียมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือแม้แต่การยกของหนักเป็นประจำ รวมถึงกิจกรรมที่มีการพับงอข้อเข่ามากๆ เช่น การนั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งยองๆ ในส่วนของห้องน้ำแนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นชักโครกแทนการนั่งยองๆ จะดีที่สุด

 

 

ข้อเข่าและกระดูกในร่างกายของเรามีวันที่จะเสื่อมไปตามอายุและวัยของเรา หากผู้ป่วยมีอาการของภาวะข้อเข่าเสื่อมและยังไม่อยากผ่าตัด ก็สามารถเริ่มดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่สมดุล ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เปลี่ยนอิริยาบถอยู่บ่อยๆ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น รักษาด้วยวิธีไหนๆ ก็ไม่หาย หรือมีความผิดรูปเกิดขึ้นแล้วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะการผ่าตัดอาจจะซับซ้อนมากขึ้น และผลลัพธ์หลังการผ่าตัดที่อาจไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมให้เร็วที่สุด



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกโรคกระดูกและข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

28 สิงหาคม 2567

คลิปวีดีโอ รีวิวคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

คลิปวีดีโอ รีวิวคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

28 สิงหาคม 2567

คลิปวีดีโอ รีวิวคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

คลิปวีดีโอ รีวิวคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม