ปากกาลดน้ำหนัก คุมน้ำหนัก ไม่ต้องทนหิว
28 พฤศจิกายน 2567
การที่เรามีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจนกลายเป็นโรคอ้วนคือปัญหาที่หลายคนกำลังวิตกกังวลจากทั้งพันธุกรรมและพฤติกรรมการกินที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคมะเร็งในอนาคต หรือใจความดันโลหิตสูง บางคนไม่มีวินัยในการควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก แต่กลับใช้ยาลดความอ้วนที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจาก อย. จนเกิดผลกระทบข้างเคียงต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ โรคหัวใจเต้นเร็ว และกลับมาอ้วนซ้ำได้ โรงพยาบาล พริ้นซ์อุทัยธานี ขอนำเสนอนวัตกรรมเพื่อช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ได้แก่ “ปากกาลดน้ำหนัก“
ปากกาลดน้ำหนักคืออะไร ลดน้ำหนักได้จริงไหม
ปากกาลดน้ำหนัก คือ ยาลดน้ำหนักชนิดหนึ่ง อยู่ในรูปแบบเข็มฉีดยาที่มีหน้าตาคล้ายกับปากกา ภายในบรรจุตัวยาสำคัญอย่างยาฉีดลิรากลูไทด์ (Liraglutide) ที่ออกฤทธิ์ให้ร่างกายรู้สึกอิ่มเร็วและลดความอยากอาหาร ด้วยคุณสมบัตินี้จึงมีชื่อเล่นอีกชื่อว่า “ปากกาคุมหิว” นั่นเอง โดยปากกาลดน้ำหนักนี้มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้จริง และยังได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าสามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ใช้สำหรับลดความอ้วนในผู้ป่วยที่มีค่า BMI เกิน 30 (ผู้ป่วยโรคอ้วน) และผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 28 (ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง เป็นต้น) โดยตัวยากลุ่มนี้จะต้องทำการคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วยจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี”
โรคอ้วน ต้นเหตุของโรคเรื้อรังอันตราย รู้เองได้ด้วยค่า BMI
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยน้ำหนักเกินเกณฑ์และโรคอ้วนมากขึ้น เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งการมีน้ำหนักตัวมากไม่ใช่เพียงแค่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพกายอีกด้วย ถึงแม้ว่าหลายคนจะมีรูปร่างอ้วนท้วมแต่เมื่อไม่มีปัญหาทางสุขภาพ (หมายถึงไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ) จึงคิดว่าตนเองสุขภาพปกติดีและละเลยการตรวจสุขภาพไป กว่าร่างกายจะแสดงอาการผิดปกติออกมาก็กลายเป็นโรคเรื้อรังเสียแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ คุณสามารถสังเกตตนเองได้ด้วยค่า BMI หรือค่าดัชนีมวลกาย สามารถคำนวณได้จากสมการนี้ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
ค่า BMI |
ผลลัพธ์ |
น้อยกว่า 18.5 | น้ำหนักต้ำกว่าเกณฑ์ |
18.5 - 22.9 | ปกติ |
23.0 - 24.9 | อ้วนระดับ 1 |
25.0 - 29.9 | อ้วนระดับ 2 |
30 ขึ้นไป | อ้วนระดับ 3 |
นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตภาวะอ้วนได้จากเส้นรอบเอว โดยชาวเอเชียไม่ควรมีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร (สำหรับผู้หญิง) และ 90 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย หากมีเส้นรอบเอวมากกว่าค่าดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเรื้อรังอื่น ๆ เนื่องจากมีไขมันสะสมตามช่องท้องมาก
วิธีใช้ปากกาลดน้ำหนัก
ยานี้มีชื่อสามัญว่า “ลิรากลูไทด์” (liraglutide) เป็นยาช่วยลดน้ำหนักที่ผ่านการรับรองจาก อย. ยาจะทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความหิวและอิ่มได้นาน หรือ ฮอร์โมน GLP1
- ฉีดยาใต้ผิวหนังทุกวันวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
- เลือกฉีดบริเวณที่มีชั้นไขมันเยอะ เช่น หน้าท้อง ต้นขา หรือต้นแขน
- งดฉีดบริเวณที่มีกล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
- ปริมาณการฉีดแพทย์จะคำนวณให้ตามน้ำหนักแต่ละบุคคล
ปากกาลดน้ำหนัก เหมาะกับใครบ้าง?
- ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 30 และมีสุขภาพปกติ
- ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI มากกว่า 27 และมีปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักโดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับผู้ที่ผ่านการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น ๆ มาแล้วแต่ไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน
- ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับผู้ที่มีนิสัยกินจุบจิบ มีภาวะอิ่มยากจากโรคอ้วนเรื้อรัง
ใครบ้างที่ห้ามใช้ปากกาลดน้ำหนัก
ปากกาลดน้ำหนักมีข้อห้ามใช้กับผู้ที่มีภาวะเหล่านี้
- ผู้ที่มีประวัติหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
- ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์
- ผู้ที่มีภาวะตับอักเสบ
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิดที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน
- ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย รวมถึงผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ ตับอ่อน หรือไต
- ผู้ที่มีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
เนื่องจากขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาตัวนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคก่อนได้รับยาฉีดควบคุมความหิว แพทย์ พยาบาล เภสัชกรจะเป็นผู้สาธิตวิธีการใช้ให้
ควรฉีดยาในเวลาใกล้เคียงกันของแต่ละวัน สามารถฉีดยาเวลาไหนก็ได้ของวัน โดยฉีดพร้อมมื้ออาหารและเครื่องดื่มหรือไม่ก็ได้ การฉีดยาจะฉีดเข้าบริเวณใต้ผิวหนังตรงตำแหน่งหน้าท้อง ต้นขา หรือต้นแขน
ห้ามฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ หรือกล้ามเนื้อ และห้ามผสมยานี้กับยาอื่นที่ฉีด เช่น ยาฉีดอินซูลิน
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกตรวจสุขภาพ
สถานที่
ชั้น 1
เวลาทำการ
ทุกวัน : 07.00-20.00น.
เบอร์ติดต่อ
056-049899 ต่อ 580101
แผนกอายุรกรรม
สถานที่
ชั้น 1
เวลาทำการ
ทุกวัน : 07.00-16.00น.
เบอร์ติดต่อ
056-049899 ต่อ 580101